สุรากับมะเร็งในปากและช่องปาก

มะเร็งในช่องปากพบมากในช่วงวัยกลางคน พบมากเป็นอันดับ 4 ในเพศชายและอันดับ 8 ในเพศหญิง อาการที่พบได้คือ มีการเกิดก้อนเนื้อขึ้น เกิดแผล มีเลือดออก ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโต เป็นต้น

โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค มีดังนี้

- เพศ โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า ปัจจัยนี้อาจเนื่องมาจากเพศชายมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุรามากกว่า

- อายุ ส่วนมากพบในคนที่อายุมากกว่า 55 ปี

- เชื้อไวรัส HPV

- ภาวะขาดสารอาหาร ในบางการศึกษาพบว่า การทานผัก ผลไม้น้อยเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งในช่องปาก

- การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงมากกว่าหลายเท่าเนื่องจากในบุหรี่ก็มีสารก่อมะเร็งอยู่

- การดื่มสุรา โดยพบโรคมะเร็งในช่องปากได้ถึง 7ใน10 ในคนที่ดื่มสุรา

 

เห็นได้ว่าการดื่มสุรานั้นเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งในช่องปาก โดยสันนิษฐานว่า การได้รับการสัมผัสโดยตรงระหว่างเยื่อบุผิวกับแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการสร้างเซลล์มะเร็ง การทำลายดีเอ็นเอโดยสารที่ได้จากการเผาผลาญแอลกอฮอล์ หรือการขาดสารอาหาร เช่น วิตามิน เอ ยังมีการศึกษาผลของแอลกอฮอล์ต่อโรคมะเร็งในช่องปากพบว่า ผู้ที่ดื่ม 7-21 ดื่มต่อสัปดาห์ สามารถทำให้เกิดมะเร็งในช่องปาก 3 เท่าของผู้ที่ไม่ดื่ม และหากดื่มมากกว่า 21 ดื่มต่อสัปดาห์จะเพิ่มเป็น 5.2 เท่า

 

หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์ 

 

อ้างอิง 

พิชัย แสงชาญชัย. (ม.ป.ป.). สายด่วน 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา (Alcohol Help Line) [เอกสารอัดสำเนา]. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.




ขออนุญาติรบกวนเวลาของท่าน
ทำแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจ
ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ 1413 สายด่วนเลิกเหล้า




สถานบำบัด

ศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด (1413 สายด่วนเลิกเหล้า) (ภายใต้คณะแพทยศาสตร์)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่อยู่ อาคารจุฬาพัฒน์ 14
254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ติดต่อประสานงาน
คุณ สุชาครีย์ พิบูลธรรมศักดิ์

โทรศัพท์ : 0830872879, มือถือ : , โทรสาร : อีเมล์ : 1413alcoholhelpcenter@gmail.com, เว็บไซต์ www.1413.in.th