รักษาแบบผู้ป่วยในกับผู้ป่วยนอกแตกต่างกันอย่างไร

การบำบัดรักษาผู้ติดสุรา หากแบ่งอย่างกว้างๆ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ เป็นผู้ป่วยใน กับผู้ป่วยนอก ซึ่งแต่ละแบบมีลักษณะการรักษาที่แตกต่างกันไป ดังนี้

1. ผู้ป่วยใน เป็นการบำบัดรักษาโดยผู้ป่วยจะต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งจะมีทีมแพทย์คอยให้ความช่วยเหลือดูแลอย่างใกล้ชิด การรักษารูปแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยติดสุราที่มีโรคทางกายและจิตเวชแทรกซ้อน ผู้ป่วยที่ต้องการถอนพิษสุราในโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่ต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องหลังการถอนพิษ หรือผู้ป่วยที่ไม่มีการสนับสนุนทางสังคมที่เพียงพอ 

2. ผู้ป่วยนอก เป็นการบำบัดรักษา โดยผู้ป่วยไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล สามารถไปกลับบ้านได้ เพียงแค่มาเข้ารับการบำบัดรักษาตามที่แพทย์นัด การรักษารูปแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีโรคทางกายและจิตเวชแทรกซ้อน และมีการสนับสนุนทางสังคมที่ดี แต่ปัญหาที่มักจะพบบ่อย คือ ผู้ป่วยมักหยุดเข้าร่วมโปรแกรมก่อนกำหนด (drop?out) จึงทำให้ผู้ป่วยมักไม่ประสบความสำเร็จในการหยุดดื่มในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการบำบัดในรูปแบบใด สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ป่วยต้องเข้ารับการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ร่วมกับการดูแลตัวเอง การตระหนักถึงเป้าหมายที่จะหยุดดื่ม หมั่นเติมความหวังกำลังใจ นอกจากนี้ การมีแรงสนับสนุน และแรงใจจากคนใกล้ชิด ก็จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการหยุดดื่มมากยิ่งขึ้น

 

หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์ 

 

อ้างอิง 

พิชัย แสงชาญชัย. (ม.ป.ป.). การบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสุรา [เอกสารประกอบการบรรยาย]. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.




ขออนุญาติรบกวนเวลาของท่าน
ทำแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจ
ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ 1413 สายด่วนเลิกเหล้า




สถานบำบัด

ศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด (1413 สายด่วนเลิกเหล้า) (ภายใต้คณะแพทยศาสตร์)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่อยู่ อาคารจุฬาพัฒน์ 14
254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ติดต่อประสานงาน
คุณ สุชาครีย์ พิบูลธรรมศักดิ์

โทรศัพท์ : 0830872879, มือถือ : , โทรสาร : อีเมล์ : 1413alcoholhelpcenter@gmail.com, เว็บไซต์ www.1413.in.th