การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง

อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยและญาติควรเรียนรู้เพื่อป้องกันการกลับไปเสพติดสุราซ้ำ คือเรื่องของปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้กลับไปดื่มสุรา เพราะหากผู้ป่วยสามารถรู้เท่าทัน รู้จักหลีกเลี่ยง และจัดการกับปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้  ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการเลิกสุราได้มากยิ่งขึ้น 

        ปัจจัยเสี่ยงที่มักทำให้กลับไปเสพติดสุราซ้ำ มีดังต่อไปนี้ 

  1. ยังคงมีการดื่มสุราอยู่บ้าง  ปริมาณแอลกอฮอล์เพียงเล็กๆน้อยๆ   ก็สามารถกระตุ้นให้คิดถึงและอยากสุราได้มากๆ ทำให้ดื่มแบบติดลม ดังนั้น การหยุดดื่มโดยเด็ดขาด จะทำให้ประสบความสำเร็จมากกว่า
  2. ปัญหาทางอารมณ์ ซึ่งสามารถกระตุ้นให้อยากสุรา และกลับไปดื่มในที่สุด  ดังนั้น ผู้ป่วยควรดูแลและหาทางผ่อนคลายอารมณ์ เช่น กิจกรรมดนตรี กีฬา เป็นต้น
  3. ปัญหาทางความสัมพันธ์ มักก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งอาจเป็นเหตุหรือผลมาจากการดื่มสุราก็ได้  เช่น ปัญหาชีวิตคู่ ครอบครัว การเลี้ยงดูบุตร หนี้สิน การงาน เป็นต้น หากสามารถหาทางคลี่คลายไปในทางที่ดีได้ ก็จะทำให้ความเสี่ยงในการกลับไปติดซ้ำลดลง
  4. แรงกดดันทางสังคม  เช่น อาชีพที่ต้องอยู่ใกล้ชิดสุรา การเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อนที่ดื่มสุรา เป็นต้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นของการเลิกสุรา
  5. ตัวกระตุ้นเร้าที่เป็นเงื่อนไขให้คิดถึงสุรา  เช่น ขวดสุรา ร้านค้าสุรา วงสุรา งานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ   สถานที่และวันเวลาที่ดื่มเป็นประจำ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้ระลึกถึงสุราได้โดยอัตโนมัติ เนื่องจากสมองได้จดจำสิ่งเหล่านี้ให้เชื่อมโยงกับการดื่มสุรา ดังนั้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ไม่คิดว่าจะเผชิญเพื่อเป็นการวัดใจ

หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์ 

 

อ้างอิง 

พิชัย แสงชาญชัย. (ม.ป.ป.). สายด่วน 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา (Alcohol Help Line) [เอกสารอัดสำเนา]. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.




ขออนุญาติรบกวนเวลาของท่าน
ทำแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจ
ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ 1413 สายด่วนเลิกเหล้า




สถานบำบัด

ศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด (1413 สายด่วนเลิกเหล้า) (ภายใต้คณะแพทยศาสตร์)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่อยู่ อาคารจุฬาพัฒน์ 14
254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ติดต่อประสานงาน
คุณ สุชาครีย์ พิบูลธรรมศักดิ์

โทรศัพท์ : 0830872879, มือถือ : , โทรสาร : อีเมล์ : 1413alcoholhelpcenter@gmail.com, เว็บไซต์ www.1413.in.th