ร่างกายเผาผลาญเหล้าอย่างไร

แอลกอฮอล์เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ละลายได้ดีในน้ำ ถูกดูดซึมได้อย่างรวดเร็วจากทางเดินอาหาร โดยส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก  และบางส่วนถูกดูดซึมที่กระเพาะอาหาร

        การดูดซึมของแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่

  1. ปริมาณความเข้มข้น(ดีกรี)ของแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน  มีผลทำให้การดูดซึมของแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายแตกต่างกัน
  2. การดื่มสุราขณะท้องว่างหรือภายหลังการอดอาหาร  แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็ว และระดับของแอลกอฮอล์ในเลือดจะขึ้นถึงขีดสูงสุดภายใน 40 นาที  แต่ถ้าหากมีอาหารหรือน้ำอยู่ในกระเพาะอาหารจะทำให้การดูดซึมช้าลง

หลังจากแอลกอฮอล์ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว ร่างกายจะพยายามกำจัดแอลกอฮอล์ออกไปโดยประมาณร้อยละ 2-10 ของแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป จะถูกขับออกมาโดยตรงจากทางเดินหายใจ เหงื่อ และปัสสาวะ แต่แอลกอฮอล์ในร่างกายส่วนใหญ่มักถูกนำมาทำลายที่ตับโดยเอนไซม์แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส เปลี่ยนแอลกอฮอล์ให้กลายเป็นแอซิตัลดีไฮด์และไฮโดรเจน  ซึ่งในภาวะปกติที่ไม่ได้ดื่มสุรา ร่างกายจะใช้ไฮโดรเจนจากไขมันเป็นแหล่งพลังงาน แต่เมื่อดื่มสุราเข้าไป ร่างกายจะใช้แอลกอฮอล์เป็นแหล่งพลังงาน แทนที่จะใช้ไฮโดรเจนจากไขมัน ทำให้ไขมันซึ่งเป็นแหล่งพลังงานปกติไม่ได้ถูกใช้ไป และเกิดการสะสมจนนำไปสู่โรคไขมันสะสมในตับ  โรคไขมันในเลือดสูง โรคตับอักเสบ และโรคตับแข็งในที่สุด

 

หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์ 

 

 

อ้างอิง

พิชัย แสงชาญชัย. (ม.ป.ป.). ร่างกายเผาผลาญแอลกอฮอล์อย่างไร [เอกสารอัดสำเนา]. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

 




ขออนุญาติรบกวนเวลาของท่าน
ทำแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจ
ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ 1413 สายด่วนเลิกเหล้า




สถานบำบัด

ศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด (1413 สายด่วนเลิกเหล้า) (ภายใต้คณะแพทยศาสตร์)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่อยู่ อาคารจุฬาพัฒน์ 14
254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ติดต่อประสานงาน
คุณ สุชาครีย์ พิบูลธรรมศักดิ์

โทรศัพท์ : 0830872879, มือถือ : , โทรสาร : อีเมล์ : 1413alcoholhelpcenter@gmail.com, เว็บไซต์ www.1413.in.th